ย้ำความทรงจำ “6 มรดกโลกของไทย” ก่อนหน้า "ศรีเทพ" มีอะไรบ้าง
- admin
- 0
จากกรณี คณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย ขึ้นทะเบียน “เมืองโบราณศรีเทพ” เป็นมรดกโลก (World Heritage) เป็นแห่งที่ 7 ของประเทศไทยนั้น
โดย มรดกโลก (World Heritage) หมายถึง มรดกอันทรงคุณค่าที่มนุษย์ได้รับจากอดีตได้ใช้และภาคภูมิใจในปัจจุบันและถือเป็นพันธกรณีที่มนุษยชาติจะต้องทำนุบำรุงดูแลรักษาเพื่อมอบให้เป็นมรดกอันล้ำค่าแด่มวลมนุษยชาติในอนาคต
พีพีทีวี จะพาย้อนดู มรดกโลกทั้ง 6 แห่ง มีที่ไหนบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร?
ที่ประชุมมรดกโลก มีมติขึ้นทะเบียน “เมืองโบราณศรีเทพ” เป็นมรดกโลก
เที่ยวเพชรบูรณ์ “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ” เมืองมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย
“พัชรวาท” ชวนสัมผัส “เมืองโบราณศรีเทพ” หลังยูเนสโกประกาศเป็นมรดกโลก
โดยประเทศไทยมีมรดกโลกอยู่ด้วยกัน 6 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ มรดกโลกทางธรรมชาติ ดังนี้
มรดกโลกทางวัฒนธรรม ได้แก่
1. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
ปัจจุบัน สุโขทัย ศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่ปรากฏหลักฐานร่องรอยของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” และเป็นรุ่งอรุณของประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งบ้านเมืองในฐานะรัฐอิสระ จนกลายเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่18 –19เป็นเวลานานถึงกว่า 200 ปี ด้วยความโดดเด่นนี้เองส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534
โดยมีคุณค่าและความโดดเด่นตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ
– เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรมที่มีความงดงามและเป็นผลงานชิ้นเอกที่ได้รับการสร้างสรรค์จากอัจฉริยภาพด้านศิลปะอย่างแท้จริง
– เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่งหรือหลักฐานที่แสดงขนบธรรมเนียม ประเพณีหรืออารยธรรมซึ่งยังหลงเหลืออยู่หรืออาจสูญหายไปแล้ว
2. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบันยังคงปรากฏ ร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ งดงาม และทรงคุณค่า สะท้อนให้รำลึกถึงความโอ่อ่าสง่างามของปราสาทราชวัง วัดวาอาราม ป้อมปราการ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาในอดีตนครประวัติศาสตร์แห่งนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงความชาญฉลาดของชุมชนหนึ่ง นับตั้งแต่การเลือกที่ตั้งชุมชนในบริเวณที่มีแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเกษตรกรรม
อันอุดมสมบูรณ์ พร้อมกับเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึกศัตรูจากภายนอก
นอกจากนั้น ผลงานด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์และวรรณกรรม ยังเป็นประจักษ์พยานแสดง ถึงความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอารยธรรมแห่งชุมชนหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ในระยะเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่19-24อีกด้วย หลักฐาน แห่งอารยธรรม ของชาวกรุงศรีอยุธยาส่งผลให้นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวารได้รับการเชิดชูคุณค่าไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกในปีพ.ศ.2534
โดยมีคุณค่าและความโดดเด่นตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ
เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นหลักฐานแสดงขนบธรรมเนียม ประเพณีหรืออารยธรรม ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่หรืออาจสูญหายไปแล้ว
3. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นปรากฏการณ์ สำคัญของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวแทนวิวัฒนาการด้านวัฒนธรรม สังคม และเทคโนโลยีที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบทอด ยาวนานกว่า 5,000 ปีในเวลาระหว่าง 3,600 ปี ก่อนคริสตศักราช ถึงคริสตศักราช 200 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเมื่อปีพ.ศ.2535
โดยมีคุณค่าและความโดดเด่นตามเกณฑ์มาตรฐาน คือคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่า
เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นหลักฐานแสดงขนบธรรมเนียม ประเพณีหรืออารยธรรม ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่หรืออาจสูญหายไปแล้ว
มรดกโลกทางธรรมชาติ ได้แก่
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง มีพื้นที่รวมประมาณ 6,222 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,888,750 ไร่ นับเป็นผืนป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ของประเทศ ที่เป็นตัวแทนแสดงลักษณะทางชีววิทยาที่สำคัญของผืนป่าในแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ถึง 4 เขต คืออินโด-หิมาลายันทันดา อินโด-เบอร์มิสและอินโดจีน
รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ทั้ง 4 เขตที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบนิเวศป่าเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยได้รับการขึ้นทะเบียน จากยูเนสโก เมื่อปี 2534
โดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการประเมิน คุณค่าให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติโดดเด่นตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
– เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของขบวนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทางธรณีวิทยา และวิวัฒนาการทางชีววิทยาที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของมนุษย์
– เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความพิเศษเป็นเลิศ รวมทั้งมีความงดงามตามธรรมชาติที่หาได้ยากยิ่ง
– เป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ที่หายากของโลกที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกและเป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
2. ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ประกอบ ด้วยพื้นที่คุ้มครอง (ProtectedArea)หรือพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น3,845,083,53 ไร่ 6,152,13 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสระบุรีนครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรีสระแก้ว และบุรีรีมย์ โดยด้านตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับผืนป่าบันทายฉมอร์(Banteay Chmor)ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์(Protected Landscape)ของราชอาณาจักรกัมพูชา
คุณค่าความสำคัญที่โดดเด่นของผืนป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่ตามความเป็นจริง และที่เสนอขอขึ้นบัญชีแหล่งมรดกทางธรรมชาติยังคงโดดเด่นในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านอุทกวิทยา ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และด้านการท่องเที่ยวและการศึกษาเรียนรู้ โดยได้รับการขึ้นทะเบียน จากยูเนสโก เมื่อปี 2548
3. กลุ่มป่าแก่งกระจาน
แหล่งมรดกนี้ตั้งอยู่ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีด้านประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสันเขาหินแกรนิตและหินปูนในแนวเหนือ-ใต้ลงสู่คาบสมุทรมลายู ตั้งอยู่ที่ทางแยกระหว่างเทือกเขาหิมาลัย อินโดจีน และเกาะสุมาตรา เป็นดินแดนแห่งสัตว์และดอกไม้ สถานที่แห่งนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าเต็งรัง มีรายงานพันธุ์พืชและสัตว์ป่าเฉพาะถิ่นและที่ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลกในพื้นที่นี้ ซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่นกสำคัญ 2 แห่ง และขึ้นชื่อว่ามีนกหลากหลายชนิด รวมถึงสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก 8 ชนิด
นอกจากนั้นสถานที่แห่งนี้เป็นที่อยู่ของจระเข้สยาม หมาใน วัวแดง ช้างเอเชีย เต่าเหลือง และเต่าหก รวมทั้งสัตว์อีกหลายชนิด นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์อื่นที่อ่อนแอ ที่พิเศษคือที่นี่ยังเป็นที่อยู่ของแมว 8 สายพันธุ์ ได้แก่ เสือโคร่ง เสือปลา เสือดาว เสือไฟ เสือลายเมฆ แมวลายหินอ่อน แมวป่า และแมวดาว
โดยได้รับการขึ้นทะเบียน จากยูเนสโก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 โดยเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ แห่งที่ 3 ของไทย
6 สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
นอกจากนั้นประเทศไทยมีสถานที่ที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคต ทั้งสิ้น 6 แห่ง ดังนี้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท, วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช, อนุสรณ์สถานแหล่งต่าง ๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงล้านนา, พระธาตุพนม และสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์และภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้อง, กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด, แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือ มรดกไทย-มรดกโลก กระทรวงศึกษาธิการ
วันสุดท้าย! “เทศกาลคเณศจตุรถี” ฤกษ์มงคลบูชาพระพิฆเนศ
เปิดโปรแกรมวอลเลย์บอลชายไทย ทำศึกเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 พีพีทีวี ยิงสด
เช็กโปรแกรมบอลไทย U23 เอเชียนเกมส์ พีพีทีวี ยิงสดทุกนัด